messager
local_cafe สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
ที่พักสงฆ์พุทธอุทยานสถานธรรมดอนแก้วห้วยวะ ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ป่าชุมชนโนนสำโรง หมู่ 7 มีพื้นที่ป่าประมาณ 300 ไร่ เป็นชุมชนที่ขนาดใหญ่และอุดมสมบูรณ์ที่สุดในตำบลกล้วยกว้าง ป่าชุมชนแห่งนี้มีลำห้วยวะไหลผ่าน ชาวตำบลกล้วยกว้างหลายหมู่บ้านและตำบลข้างเคียง ได้ใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนโนนสำโรงแห่งนี้ เพราะเป็นแหล่งอาหาร ยาสมุนไพร เช่น เห็ดป่า หน่อไม้ ผลไม้ป่า ส่วนสมุนไพร เช่น ย่านางแดง เครือเอ็นอ่อน ครอบจักรวาล อ้อยดำ ครั่ง สาบเสือ ก้างปลาเครือ หนามเล็บแมว โด่ไม่รู้ล้ม เป็นต้น และยังมีไม้เศรษฐกิจ คือ ไม้มะดัน ที่ใช้ย่างไก่ เพราะไม้มะดันมีรสเปรี้ยวเวลาย่างยางในไม้มะดันจะซึมออกใส่ตัวไก่ที่ย่าง ทำให้มีรสชาติกลมกล่อมขึ้น ต่อมามีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมา โดยเกิดจาการรวมตัวกันของคนในหมู่บ้านเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้ในเขตชุมชนเพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์ต้นไม้ สัตว์ต่างๆ แหล่งอาหาร แหล่งสมุนไพร เพื่อประโยชน์แก่หมู่บ้าน และหมู่บ้านข้างเคียงเพราะแต่ก่อนไม่มีการอนุรักษ์และมีคนบุกรุกทำลายป่า ไม่มีการฟื้นฟูเพราะเป็นแหล่งป่าชุมชนชาวบ้านหรือบุคคลที่เข้ามามักจะไม่ใส่ในการอนุรักษ์ต่อมาในปี พ.ศ.2553 พระครูบุญสถิตย์ ปัญญาวโร (หลวงตาบุญยัง) ได้ก่อตั้งสำนักสงฆ์พุทธอุทยานสถานธรรมดอนแก้ว ห้วยวะ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ถูกสร้างขึ้นใช้ในป่าชุมชนโนนสำโรง กลายเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในตำบลกล้วยกว้างและอำเภอห้วยทับทัน และคนในจังหวัดศรีสะเกษ ด้วยที่พระครูบุญสถิต เป็นพระนักปฏิบัติเป็นพระสุปฏิปันโน ทำให้ป่าชุมชนโนนสำโรงเต็มไปด้วยนักแสวงบุญในวันศีล วันพระ กลุ่มวัยรุ่นที่มีปัญหาทางสังคมสำนักสงฆ์ฯ สามารถดึงเด็กวัยรุ่นกลุ่มดังกล่าวเข้าร่วมกิจกรรมของวัด และด้วยกุศโลบายของท่านพระครูที่มาอยู่ ณ ป่าชุมชนโนนสำโรงที่ต้องการดูแลป่าร่วมกับชุมชน มีการกระจายพระลูกวัดออกไปตามขอบเขตของป่าชุมชนสร้างกุฏิหลังเล็กๆที่พอจำวัดได้ไม่ทำลายธรรมชาติเพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันการบุกรุกของที่ข้างเคียง (ท่านพระครูว่าเป็นการสร้างทหารชายแดนด้วยศีล)มีการออกกฎระเบียบข้อบังคับของ

info_outline วิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์หน่วยงาน
รอปรับปรุง

insert_drive_file เกี่ยวกับหน่วยงาน
ข้อมูลทั่วไปของหน่วยงาน


ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาของชุมชนตำบลกล้วยกว้าง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ เดิมทีตำบลกล้วยกว้างมีชื่อเรียกว่า “บ้านกวยกว้าง” เมื่อปี พ.ศ. 2260 มีกลุ่มชาวกวย(ส่วย)โดยการนำของตากะจะ และเซียงขัน ได้อพยพครอบครัวมาตั้งถิ่น ณ บ้านสี่เหลี่ยมดงลำดวน หรือ(บ้านโคกลำดวน อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน) ส่วนอีกกลุ่มได้แยกตัวออกจากตากะจะ และเซียงขันโดยการนำของ พระโพธิญาณ มาตั้งถิ่นฐานในเขต ภูมิวิหารดงกระตึบ ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอย่างแน่ชัดในการตั้งถิ่นฐานของชุมชนกลุ่มนี้จาก ซากโบราณวัตถุที่มีลักษณะคล้ายโบสถ์วิหาร ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ บ้านหว้าน ตำบลสำโรงปราสาท อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ต่อมาปี พ.ศ.2385 ชุมชนเกิด“อหิวาตกโรค” ร้ายแรงหลายครั้งทำให้ตัดสินใจอพยพย้ายครอบครัวไปตั้งถิ่นฐานในที่แห่งใหม่ ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งทรัพยากรน้ำ ป่าไม้ และพื้นที่ทำการเกษตร โดยมีชื่อเรียกชุมชนแห่งนี้ว่า “บ้านกวยกว้าง” ซึ่ง หมายถึง หมู่บ้านที่มีประชากรชาวกวยกว้างอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นนั่นเอง ในปี พ.ศ. 2395 ทางราชการได้ประกาศให้มีการจัดตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ เป็นครั้งแรกซึ่งบ้านกวยกว้างเป็นหนึ่งในชุมชนที่ได้รับการจับมอง